วันอาทิตย์ที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2554

คอมพิวเตอร์สำหรับเด็กปฐมวัย

คอมพิวเตอร์สำหรับเด็กปฐมวัย
(Using Computers in Pre-school)

แนวคิดทฤษฎีและหลักการคอมพิวเตอร์สำหรับเด็กปฐมวัย ความรู้พื้นฐานในคอมพิวเตอร์สำหรับเด็กปฐมวัย การเลือกและการจัดโปรแกรมคอมพิวเตอร์ในการส่งเสริมพัฒนาการด้านต่างๆ เทคนิคการสอนคอมพิวเตอร์สำหรับเด็กปฐมวัย การฝึกฝนปฏิบัติการสร้างโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำหรับเด็กปฐมวัย การวัดและการประเมินผลการใช้คอมพิวเตอร์สำหรับเด็กปฐมวัย ครูและผู้ปกครองกับการจัดโปรแกรมเพื่อส่งเสริมประสบการณ์การใช้คอมพิวเตอร์สำหรับเด็กปฐมวัย

e-learning : http://tcu.npru.ac.th/
จุดประสงค์ของวิชา

1. เพื่อให้มีความรู้เกี่ยวกับแนวคิด ทฤษฎีและหลักการของคอมพิวเตอร์สำหรับเด็กปฐมวัย
2. สามารถอธิบายเทคนิคการสอน การเลือกโปรแกรมที่เหมาะสมเพื่อการส่งเสริมพัฒนาการต่าง ๆ ตลอดจนสามารถจัดกิจกรรมการใช้คอมพิวเตอร์ เพื่อการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย
3. ให้นักศึกษาได้ฝึกปฏิบัติการใช้คอมพิวเตอร์และสร้างโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำหรับเด็กปฐมวัย


หัวข้อวิชา (course outline)

1. แนวคิด ทฤษฎี หลักการ และความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์สำหรับเด็กปฐมวัย
2. การเลือก การจัดโปรแกรม การวัดและการประเมินผลการใช้คอมพิวเตอร์สำหรับเด็กปฐมวัย เพื่อส่งเสริมพัฒนาการด้านต่าง ๆ
3. บทบาทของครูและผู้ปกครองในการจัดกิจกรรม เพื่อการส่งเสริมประสบการณ์และการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย
4. เทคนิคการสอนคอมพิวเตอร์สำหรับเด็กปฐมวัย
5. การจัดสภาพแวดล้อมที่เป็นมัลติมีเดียสำหรับการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย
6. การใช้คอมพิวเตอร์ขั้นพื้นฐานกับระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ (Microsoft Windows)
7. ระบบคอมพิวเตอร์และมัลติมีเดียสำหรับเด็กปฐมวัย
8. การใช้อินเตอร์เน็ตเพื่อการศึกษาสำหรับเด็กปฐมวัย
9. การใช้โปรแกรมสำเร็จรูป Microsoft Office ขั้นพื้นฐาน
10. การใช้โปรแกรมกราฟิก Adobe Photoshop ขั้นพื้นฐาน
11. การใช้โปรแกรมบันทึกเสียง CoolEdit ขั้นพื้นฐาน
12. การใช้โปรแกรมนำเสนอ Microsoft PowerPiont ขั้นพื้นฐาน
13. การสร้างสื่อสิ่งพิมพ์สำหรับเด็กปฐมวัย
14. การสร้างสื่อมัลติมีเดียสำหรับเด็กปฐมวัย
15. การนำเสนอผลงานการสร้างโปรแกรมมัลติมีเดียสำหรับเด็กปฐมวัย

การเรียนและการสอน ประกอบด้วย

1. การบรรยายในชั่วโมงเรียนโดยใช้สื่อต่างๆ เพื่อให้มีความรู้พื้นฐานที่สามารถค้นคว้าต่อได้
2. ให้นักศึกษาจัดทำแฟ้มบันทึกการเรียนรู้และการศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมนอกห้องเรียน หลังการเรียนในแต่ละหัวข้อวิชา โดยอาจารย์ผู้สอนจะติดตามอ่านแฟ้มบันทึกการเรียนรู้ เพื่อติดตามและทราบพัฒนาการเรียนรู้ของนักศึกษา
3. ให้นักศึกษาและทำความเข้าใจเนื้อหาวิชาด้วยการทดลองปฏิบัติการในห้องคอมพิวเตอร์
4. ให้นักศึกษาค้นคว้านอกห้องเรียน จากตำรา เอกสารประกอบการสอน และ web sites ต่างๆ





อุปกรณ์สื่อการสอน ได้แก่
1. เครื่อง LCD projector และ คอมพิวเตอร์
2. ตำรา และ เอกสารประกอบการสอน
3. web sites : http://tcu.npru.ac.th/ และ http://pathomwai.pantown.com/

การวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ประกอบด้วย

1. บันทึกการเรียนรู้และการศึกษาค้นคว้านอกห้องเรียน 10 %
2. การปฏิบัติงานระหว่างภาคเรียน 60 %
3. สอบปลายภาค 30 %

ระยะเวลาการศึกษา

สัปดาห์ที่ 1
- แนวคิด ทฤษฎี หลักการ และความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์สำหรับเด็กปฐมวัย
- การเลือก การจัดโปรแกรม การวัดและการประเมินผลการใช้คอมพิวเตอร์สำหรับเด็กปฐมวัย เพื่อส่งเสริมพัฒนาการด้านต่าง ๆ

สัปดาห์ที่ 2
- บทบาทของครูและผู้ปกครองในการจัดกิจกรรม เพื่อการส่งเสริมประสบการณ์และการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย
- การจัดสภาพแวดล้อมที่เป็นมัลติมีเดียสำหรับการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย

สัปดาห์ที่ 3
- เทคนิคการสอนคอมพิวเตอร์สำหรับเด็กปฐมวัย และการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารสำหรับเด็กปฐมวัย
- การใช้คอมพิวเตอร์ขั้นพื้นฐานกับระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ (Microsoft Windows)

สัปดาห์ที่ 4
- ระบบคอมพิวเตอร์และมัลติมีเดียสำหรับเด็กปฐมวัย
- การใช้อินเตอร์เน็ตเพื่อการศึกษาสำหรับเด็กปฐมวัย

สัปดาห์ที่ 5
- การใช้โปรแกรมสำเร็จรูป Microsoft Office ขั้นพื้นฐาน

สัปดาห์ที่ 6
- การใช้โปรแกรมกราฟิก Adobe Photoshop ขั้นพื้นฐาน (1)

สัปดาห์ที่ 7
- การใช้โปรแกรมกราฟิก Adobe Photoshop (2)
- ปฏิบัติการสร้างสื่อสิ่งพิมพ์สำหรับเด็กปฐมวัย

สัปดาห์ที่ 8
- การสร้างสื่อสิ่งพิมพ์สำหรับเด็กปฐมวัย (1)
- ปฏิบัติการสร้างสื่อสิ่งพิมพ์สำหรับเด็กปฐมวัย

สัปดาห์ที่ 9
- การสร้างสื่อสิ่งพิมพ์สำหรับเด็กปฐมวัย (2)
- ปฏิบัติการสร้างสื่อสิ่งพิมพ์สำหรับเด็กปฐมวัย

สัปดาห์ที่ 10
- การใช้โปรแกรมบันทึกเสียง CoolEdit ขั้นพื้นฐาน
- ปฏิบัติการบันทึกเสียงด้วยคอมพิวเตอร์

สัปดาห์ที่ 11
- การสร้างสื่อมัลติมีเดียสำหรับเด็กปฐมวัย
- การใช้โปรแกรมนำเสนอ Microsoft PowerPiont ขั้นพื้นฐาน (1)

สัปดาห์ที่ 12
- การใช้โปรแกรมนำเสนอ Microsoft PowerPiont ขั้นพื้นฐาน (2)
- ปฏิบัติการสร้างสื่อมัลติมีเดียสำหรับเด็กปฐมวัย

สัปดาห์ที่ 13
- สอบปฏิบัติรอบแรก
- หลักการสร้างสื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอนสำหรับเด็กปฐมวัย

สัปดาห์ที่ 14
- สอบปฏิบัติรอบสอง
- หลักการสร้างสื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอนสำหรับเด็กปฐมวัย

สัปดาห์ที่ 15
- การนำเสนอผลงานการสร้างโปรแกรมมัลติมีเดียสำหรับเด็ก
- ส่งงานนำเสนอกลุ่มและส่งข้อสอบข้อเขียน

หมายเหตุ
- ไม่เกินสัปดาห์ที่ 16 ส่งงานนำเสนอเดี่ยวขึ้นเว็บส่วนตัว

อาหารเสริมสำหรับเด็ก

รศ.นพ.วีระพงษ์ ฉัตรานนท์
Faculty of Medicine Siriraj Hospital
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล
            การให้อาหารเสริมนั้น เรามีจุดมุ่งหมายที่ชดเชยพลังงาน และสารอาหารที่จำเป็น ที่อาจจะพร่องไป และเพื่อให้เด็กได้คุ้นเคยกับอาหาร ซึ่งจะเปลี่ยนแปลงไปให้เหมาะสมตามวัย อันจะเป็นการฝึกให้เด็กมีนิสัยการกินที่ดีและถูกต้องด้วย สำหรับอาหารเสริมในเด็กภายในอายุ 1 ปีนั้น จะมีดังต่อไปนี้ คือ เมื่อเด็กอายุครบ 3 เดือนแล้ว ควรเริ่มหัดให้เขากินข้าวบดใส่น้ำแกงจืด ผลัดเปลี่ยนกับกล้วยสุกครูด เด็กอายุครบ 4 เดือนให้ข้าวบดกับไข่แดงต้มสุกหรือข้าวบดกับตับ หรือสลับกับถั่วต้มเปื่อยก็ได้ เมื่ออายุครบ 5 เดือน ก็ควรจะเริ่มสลับด้วยเนื้อปลา และก็ควรจะเติมด้วยฟักทอง หรือผักบดเข้าไปด้วย เมื่ออายุครบ 6 เดือน อาหารดังกล่าวนี้ ก็จะกลายเป็นอาหารมื้อหลัก 1 มื้อ และให้กล้วยหรือมะละกอสุกเป็นอาหารว่างอีก 1 มื้อ ส่วนนมแม่ก็ควรจะลดลงเหลือวันละ 4 มื้อ เมื่ออายุครบ 7 เดือนแล้ว เราสามารถเริ่มเนื้อสัตว์อื่น บดผสมข้าว หรืออาจจะสลับกับตับและปลาได้ และในระยะนี้ เราก็อาจจะให้ไข่ได้ทั้งฟอง ทั้งไข่ขาวไข่แดง เมื่ออายุครบ 8-9 เดือน อาหารหลักก็จะเป็น 2 มื้อแล้ว ทำให้นมลดลง เหลือประมาณ 3 มื้อ อายุครบ 10-12 เดือน อาหารมื้อหลักก็จะเพิ่มเป็น 3 มื้อโดยส่วนนมนั้น ก็จะลดลงเหลือเพียง 2 มื้อ นั่นก็เป็นเรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ และก็อาหารเสริม ตามวัยที่เหมาะสม สำหรับที่จะเลี้ยงลูกท่านผู้ฟังให้มีการเจริญเติบโต มีสุขภาพแข็งแรง มีทั้งร่างกายและสมอง และสุขภาพจิตที่ดีด้วย
    
            แม้อาหารจะเป็นส่วนสำคัญในการเลี้ยงดูเด็กก็จริง แต่ก็ยังมีสิ่งอื่นอีก ที่มีความสำคัญไม่น้อย และที่จะช่วยเกื้อหนุนให้เด็กของเราเจริญเติบโตได้ดี สิ่งถัดไปในการเลี้ยงดูเด็กที่ควรกระทำก็คือ การพาเด็กไปรับการตรวจสุขภาพจากแพทย์ และรับวัคซีนเพื่อป้องกันโรคต่าง ๆ ตามกำหนดที่แพทย์นัด ทั้งนี้เพื่อป้องกันการติดโรค ที่สามารถจะป้องกันไว้ก่อนได้ และเมื่อเด็กเจริญเติบโตขึ้น ความอบอุ่นจากพ่อแม่ทางบ้าน ก็ยังเป็นสิ่งสำคัญเกี่ยวกับสุขภาพจิตของเด็กด้วย และเมื่อถึงวัยอันควรก็ส่งเด็กเข้าโรงเรียน เพื่อศึกษาหาความรู้และอบรมสั่งสอนให้มีระเบียบวินัยและเป็นคนดี แต่ไม่ควรเร่งให้เด็กเข้าโรงเรียน ก่อนที่เด็กจะพร้อม นอกจากนี้การออกกำลังกาย หรือพลศึกษา ก็เป็นสิ่งสำคัญ สำหรับสุขภาพทางร่างกาย และจิตใจของเด็กด้วย ท่านผู้ฟังครับ การเคี่ยวเข็ญให้เด็กเรียนมากเกินไป โดยมีการพักผ่อนออกกำลังกายน้อยหรือไม่มีเลย จะมีผลเสียถึงสุขภาพทางร่างกายและจิตใจและเด็กอย่างมากด้วย ปัญหาเด็กเกเรหรือติดยาเสพติด ที่มีปัญหามากในปัจจุบัน อาจจะแก้ไขได้ทางหนึ่งโดยการจัดให้มีสนามเด็กเล่น และสนามกีฬากระจายไป ให้เพียงพอที่จะให้เด็กของเราใช้เวลาว่างในการออกกำลังกาย และเล่นกีฬาแทนที่จะไปมั่วสุมในที่อันไม่ควร ดังนั้น ถ้าจะเลี้ยงเด็กของท่าน ให้เจริญเติบโตดีต่อไปก็ควรจะให้อาหารดี ซึ่งได้แก่ นมแม่ และอาหารเสริมตามวัย พาไปตรวจสุขภาพและรับวัคซีนป้องกันโรคตามกำหนด ให้ความอบอุ่นทางจิตใจ ให้การศึกษา และให้ออกกำลังกายให้พอเหมาะ

musiquepsgs2

repetition musique 1

ดนตรีเด็ก